สรุปผลการสัมมนาเครือข่ายองค์กรการเรียนรู้สู่สังคมแห่งการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 Mini_UKM ครั้งที่ 9
ผู้เข้าร่วมการสัมมนาฯ ประกอบด้วย
1. คุณลฎาภา รัตนจารุ หัวหน้าสำนักงานคณบดีสำนักวิชาวิทยาศาสตร์
2. คุณชดช้อย รวยสูงเนิน หัวหน้าสำนักงานคณบดีสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์
3. คุณรัชนี หอมกลาง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์
4. คุณปาริชาติ แซ่ว่อง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป สำนักวิชาแพทยศาสตร์
5. คุณกาญจน์ภัสส์ อบกลางวริทธิ์ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป สำนักวิชาแพทยศาสตร์
6. คุณทิพย์สุดา ไชยพฤกษ์ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ส่วนส่งเสริมวิชาการ
7. คุณวริฏฐา ประเสริฐ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ส่วนแผนงาน
การจัดการความรู้ “มือใหม่หัดขับ” โดยการนำของ ศ.นพ.วุฒิชัย ธนาพงศธร
ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ ศ. นพ.วุฒิชัย ธนาพงศธร บรรยายนำใน ประเด็นการจัดการความรู้ “มือใหม่หัดขับ” หลังจากนั้นเป็นกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิคหรือวิธีการทำงานที่ทำให้งานสำเร็จ โดยแบ่งผู้เข้าร่วมสัมมนาออกเป็น 4 กลุ่ม เพื่อหา KSF ของการทำงาน ผลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละกลุ่ม พบว่าส่วนใหญ่จะมีเทคนิคการทำงานที่มาจากทฤษฎีการทำงานทั่วไป ไม่มีกลุ่มใดเสนอเทคนิคการทำงานที่เกิดจากการเรียนรู้และกระบวนการ KM วิทยากรจึงได้บรรยายในหัวข้อการจัดการความรู้และการใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือในการทำงานเพิ่มเติม
สัมมนาเครือข่ายองค์กรการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษา ครั้งที่ 9
กล่าวเปิดการสัมมนาฯ โดย คุณมยุรี สิงห์ไข่มุก ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา บรรยายเรื่อง “การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาเครือข่ายและมาตรฐานอุดมศึกษา” โดยได้บรรยายเกี่ยวกับความจำเป็นและวัตถุประสงค์ ประโยชน์ในการดำเนินการประกันคุณภาพ และรายละเอียดตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร
กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์และการแบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3 หัวข้อ ดังนี้
1. มาตรฐานหลักสูตร วิทยากรประจำกลุ่มคือ รศ. นพ.จิตเจริญ ไชยาคำ โดยผู้เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลการดำเนินการของแต่ละสถาบันในปัจจุบัน ปัญหาในการดำเนินการตามกรอบมาตรฐานของหลักสูตร และร่วมกันเสนอแนวทางการดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตร
2. การประเมินหลักสูตร วิทยากรประจำกลุ่มคือ ศ. นพ.วุฒิชัย ธนาพงศธร วิทยากรได้แบ่งผู้เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ออกเป็น 4 กลุ่มย่อย โดยให้ผู้เข้าร่วมฯ แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการในการประเมินหลักสูตรของแต่ละสถาบัน เทคนิคและวิธีที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ ตัวบ่งชี้ในการประเมินหลักสูตร รวมถึงการหาแนวปฏิบัติที่ดีในการประเมินหลักสูตร
3. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ TQF วิทยากรประจำกลุ่มคือ รศ.ผดุงยศ ดวงมาลา (รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยนครพนม) ผู้เข้าร่วมฯ แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการจัดทำกรอบมาตรฐาน TQF มีการหาแนวปฏิบัติที่ดีจากผู้เข้าร่วม และมีผลสรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดังนี้ มีการกำหนด Core Competency ที่ชัดเจน และมีบางสถาบันได้จัดทำระบบ TQF แบบออนไลน์มาใช้ เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการทำงานต่ออาจารย์ผู้สอนและสามารถจัดเก็บหลักฐานได้ตรงตามเวลาที่กำหนด
ดาวโหลดไฟล์สรุปผลการสัมมนาเครือข่ายองค์กรการเรียนรู้สู่สังคมแห่งการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 Mini_UKM ครั้งที่ 9
ความเห็นล่าสุด